ข้อแนะนำ 8 ข้อกับการลงทุนที่ชาญฉลาดในช่วงเวลาแห่งความผันผวน

13 09 2008

แนวคิดหลักประการสำคัญของการลงทุนที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนได้ คือ ระยะเวลา ที่ยาวนานขึ้น

เวลา นานเท่าไร ก็จะช่วยให้ ความเสี่ยง ลดลงได้

วันนี้แนวคิดที่หลายคนมองว่า เป็นแนวคิดพื้นๆ ที่เป็นเพียง เบสิก กำลังถูก ต่อยอด ให้แหลมคมขึ้น สร้างประโยชน์สร้างคุณค่าให้มากขึ้นผ่านโครงการ การลงทุนที่ชาญฉลาด จากอเบอร์ดีน หรือ อเบอร์ดีนส์ เพิร์ล ออฟ วิสดอม ภายใต้การผลักดันของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อเบอร์ดีน จำกัด

เป็นแนวคิดที่ โรเบิร์ต เพนนาโลซา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.อเบอร์ดีน บอกว่า จะเป็นการสนับสนุนการลงทุนในระยะยาวอย่างคุ้มค่าเพื่อเป็นประโยชน์แก่นักลง ทุนไทย

เราเชื่อมั่นว่า การลงทุนในระยะยาวนับเป็นกลยุทธ์ด้านการลงทุนอย่างแท้จริง ซึ่งพิสูจน์ได้จากการที่การลงทุนในรูปแบบดังกล่าว ได้ส่งผลให้บริษัทสร้างผลประกอบการที่แข็งแกร่งของกองทุนภายใต้การบริหารใน รอบหลายปีที่ผ่านมา

ทั้งหมดนั้น ถูกกลั่นกรองโดย บลจ.อเบอร์ดีน ออกมาเป็นข้อแนะนำการลงทุนที่ชาญฉลาดในช่วงเวลาแห่งความผันผวน มีทั้งหมด 8 ประการ

1.ความผันผวนไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว…แต่เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ

อเบอร์ดีน ตั้งคำถามว่า เหตุใด…เราจึงกลัวความผันผวนของตลาดหุ้น ทั้งนี้ การที่ปีกของเครื่องบินลู่ลมไปมาท่ามกลางสภาพอากาศที่แปรปรวน ก็เพื่อลดแรงปะทะ ความผันผวนในตลาดหุ้นก็เช่นกัน บางช่วงผันผวนมาก บางช่วงผันผวนน้อย ซึ่งแน่นอนว่า การบินท่ามกลางสภาพอากาศแปรปรวนรุนแรง เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ แต่ในบางครั้งเราก็ไม่มีทางเลือกมากนัก โดยเฉพาะในโลกของการลงทุน ที่เราต้องยอมรับความผันผวนนั้นๆ

2.มองการณ์ไกล

ในฐานะของนักลงทุน ควรลงทุนหรือถือหลักทรัพย์ในระยะเวลาเดียวกันกับระยะเวลาของการประกอบธุรกิจ เช่น โรงงาน 1 แห่งให้ผลตอบแทนอย่างน้อยในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งการถือหุ้นก็เช่นกัน

3.รู้ความแตกต่างระหว่างการพนันกับการลงทุน

ในการไปเที่ยวกาสิโน หากใช้เหตุผลเดียวกันกับการลงทุนในตลาดหุ้น ก็อาจจะประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว การลงทุนให้ประสบความสำเร็จนั้นเป็นเรื่องยาก บ่อยครั้งอาจจะเชื่องช้าและน่าเบื่อ ต้องการวินัยและการทำการบ้านอย่างหนัก ดังนั้น หากต้องการความสนุกตื่นเต้น ก็ลุ้นแค่เหมือนการเล่นพนัน แต่หากต้องการผลตอบแทนที่ดีกว่าจากการลงทุน การเป็นเจ้าของกิจการกาสิโนย่อมมีแนวโน้มที่จะได้รับผลตอบแทนดีกว่าไปเล่น พนันเสียเอง

4.เลือกที่จะแตกต่าง

การลงทุนในตลาดหุ้น การซื้อขายตามผู้เล่นอื่นในตลาดเป็นสูตรตายตัวสำหรับผลตอบแทนที่จะได้เพียง น้อยนิด วอร์เรน บัฟเฟตต์ สอนไว้ว่า จงหวั่นวิตกในยามที่คนอื่นๆ กำลังละโมบ และจงละโมบในยามที่คนอื่นๆ หวั่นวิตก

5.เข้าใจความแตกต่างระหว่างราคากับมูลค่า

ในโลกของความเป็นจริง เราพบความแตกต่างระหว่างราคากับมูลค่าอยู่เสมอ ระหว่างรถยนต์คันละ 1 หมื่นดอลลาร์ กับเสื้อยืดตัวละ 1 หมื่นดอลลาร์ รถยนต์ย่อมมีมูลค่ามากกว่าเสื้อยืดอย่างเห็นได้ชัด แต่ในโลกของการลงทุน เป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้ เพราะกรณีของรถยนต์ เราประเมินได้จากการใช้งานจริง ขณะที่มูลค่าของบริษัทเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ จึงนำมาซึ่งหลักการคิดมากมายในการประเมินมูลค่า ผู้รู้ด้านการแนะนำเลือกซื้อหุ้นอย่าง ฟิลิป ฟิชเชอร์ จึงกล่าวไว้ว่า ตลาดหุ้นเต็มไปด้วยคนที่รู้ราคาของทุกสิ่ง แต่ไม่รู้มูลค่าอะไรเลย

6.อย่ามั่นใจจนเกินไป…เพราะตลาดอาจฉลาดกว่าคุณ

จงจำไว้ว่า มีคนอีกเป็นล้านๆ คน ที่กำลังคิดแบบเดียวกับเรา จึงควรย้อนถามตัวเองว่า เราฉลาดกว่าพวกเขาแน่หรือ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ บิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่และผู้ลงทุนผู้ประสบความสำเร็จ กล่าวไว้ว่า การลงทุนที่ประสบความสำเร็จคือ การคาดคะเนสิ่งที่คนอื่นคาดคะเนอยู่นั่นเอง

7.หลีกเลี่ยง…สิ่งที่คุณไม่เข้าใจ

ต้องเข้าใจอย่างชัดเจนและแม่นยำในสิ่งที่กำลังจะซื้อ เพื่ออย่างน้อยจะได้สามารถหลับสนิทในเวลากลางคืน เปรียบหุ้นให้เหมือนกับการอ่านหนังสือ หากอ่านแล้วไม่เข้าใจก็จงวางมันลง

8.และท้ายที่สุด…

สิ่งสำคัญที่สุดในการลงทุน ก็คือ คุณจะต้องรู้ว่าคุณมีดีที่ตรงไหน และหากมีดีแล้วล่ะก็ ต้องใช้มันให้เต็มที่ และอย่าลืมเคล็ดลับของบัฟเฟตต์ที่ว่า การกระจายความเสี่ยงให้ครอบคลุมทุกเรื่อง เป็นสิ่งจำเป็นก็ต่อเมื่อ นักลงทุนไม่รู้ว่าตนกำลังทำอะไรอยู่

ผู้บริหารของอเบอร์ดีนปิดท้ายอย่างน่าสนใจว่า ในช่วงเวลาที่ผันผวน คนส่วนใหญ่มักเก็บเงินสดไว้กับตัวให้มากๆ เพราะกลัวว่าโลกจะล่มสลาย ทั้งที่จริงก็ยังไม่เคยเกิดขึ้น ดังนั้น สิ่งที่ควรทำก็คือ ยืนหยัดอย่างมั่นคงและเผชิญหน้าอย่างกล้าหาญ โดยหลักการลงทุนง่ายๆ ที่ทำให้บรรลุเป้าหมายได้ไม่ยาก

Taken from sanook.com





Turnover List

11 09 2008

หลักเกณท์หุ้นที่เข้าข่าย turnover list และ ซื้อด้วยเงินสดวางล่วงหน้าเต็มจำนวน:
1. Turnover list
หุ้นสามัญตลาดเก่า (ตลท)
– อัตราการหมุนเวียนการซื้อขายต่อสัปดาห์ (1W-Turnover) >= 30% และ
– มูลค่าซื้อเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์ >= 100 ล้านบาท
– จำนวนหุ้นที่ติดไม่เกิน 50 อันดับแรก
หุ้นสามัญใน MAI
หลักเกณฑ์
หุ้นที่ติด Turnover list
– อัตราการหมุนเวียนการซื้อขายต่อสัปดาห์ (1W-Turnover) >= 30% และ
– มูลค่าซื้อเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์ >= 20 ล้านบาท
– จำนวนหุ้นที่ติดไม่เกิน 5 อันดับแรก
ทั้งนี้ ไม่รวมหุ้น IPO ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์นับแต่วันที่หุ้นดังกล่าวเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ครั้งแรก
Warrant
– อัตราการหมุนเวียนการซื้อขายต่อสัปดาห์ (1W-Turnover) >= 100% และ
– ส่วนเกินมูลค่า (Premium) >= 20 %
หุ้น ที่ติด turnover list สามารถซื้อขายได้ปกติ ยกเว้นตัวที่ต้องซื้อด้วยเงินสดวางล่วงหน้าเต็มจำนวนบญชี Cash Balance ตามหลักเกณท์ข้างล่าง
2. ซื้อต้องด้วยบัญชี Cash Balance
หุ้นสามัญทั้งสองตลาดเก่า และ ใหม่ (mai)
-Turnover ratio >= 50%
และ
-P/E ratio >= 50 เท่า หรือ ขาดทุน (ราคาแม่ในกระดาน >= กำไรต่อหุ้น 4 ไตรมาสสุดท้ายรวมกัน) 
และ
-มูลค่าการซื้อในรอบสัปดาห์เฉลี่ย >= 100 ล้านบาทต่อวัน
ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญ (Warrant) :
-Trunover ratio >= 100%
และ
-มี อัตราความยากในการใช้สิทธิ (%Premium) >= 20% ของราคาหลักทรัพย์อ้างอิง [(ราคา w + ราคาค่าแปลงต่อหุ้น) แพงกว่า ราคาแม่ >= 20%]
และ
-มูลค่าการซื้อในรอบสัปดาห์เฉลี่ย >= 100 ล้านบาทต่อวัน
หุ้น ที่เข้าข่ายหลักเกณท์ทั้ง 3 ข้อ ย้ำ “ทั้ง 3 ข้อ”  ตลท จะประกาศให้เป็นหุ้นซื้อด้วยเงินสดวางล่วงหน้าเต็มจำนวนบัญชี Cash Balance เป็นเวลา 3 รอบสัปดาห์ หุ้นเหล่านี้จะติด turnover list ด้วย
***”ก็เลยสงสัยว่าเจ้าสามตัวที่ว่านี้จะติดเรื่องเกณฑ์ turnover list เมื่อใด
เผื่อแหย่เข้าไปแล้วจะได้หนีทัน ไม่ใช่เล่นจนเพลิน
ไม่ งั้นเดี๋ยวติดลมเย็นอยู่บนดอย” เป็นคำถามที่ดีมากและเป็นสิ่งสำคัญที่คิดจะห่อหุ้นกลับบ้านในวันศุกร์ หรือ วันสุดท้ายของสัปดาห์ จขกท ต้องตรวจสอบ 2 ใน 3 หลักเกณท์ซึ่งพอหาได้เอง
(๑) ราคาแม่ในกระดาน >= P/E 50 เท่า ซึ่ง จขกท ต้องคำนวนหาเองผลประกอบการ 4 ไตรมาสสุดท้ายรวมกันได้เท่าไร x 50 ได้เท่ารั๊ยก็คือราคาแม่ในกระดานต้องไม่เท่าหรือมากกว่าผลคูณที่ได้มั๊ย หรือ หุ้น W หาผลลัพท์ [(ราคา w + ราคาค่าแปลงต่อหุ้น) แพงกว่า ราคาแม่ในกระดาน >= 20%] มั๊ย ถ้า “ใช่” การที่จะเข้าหลักเกณท์ซื้อด้วย Cash Balance ต้องเข้าหลักเกณท์ข้อต่อไปนี้ด้วย
(๒) มูลค่าซื้อในรอบสัปดาห์นับตั้งแต่วันจัททร์ ถึง ศุกร์ หรือ วันแรกของสัปดาห์ ถึง ก่อนวันสุดท้ายของสัปดาห์ ว่ามีมูลค่าเฉลี่ย 100 หรือ มากกว่ามั๊ย ถ้า”ใช่” แสดงว่าความเสี่ยงหุ้นตัวนี้จะถูกเข้าบัญชีดำซื้อด้วยเงินสดวางล่วงหน้า บัญชี Cash Balance เพื่อความปลอดภัยหลีกเลี่ยง “ห่อ” กลับบ้าน
(๓) ข้อมูลเหล่านี้สามารถขอจาก มาร์ ได้ เป็นหน้าที่เข้าต้องหาข้อมูลให้ลูกค้า เกรงใจเงินในกระเป๋าเรามากกว่าที่จะมาเกรงใจ มาร์ หรือ โบรก
ตลท จะประกาศในข่าวประจำนวนวันในวันศุกร์หรือวันสุดท้ายของสัปดาห์หลังปิดตลาด





KYC/CDD

11 09 2008

ได้ยินจากรายการ Inside กลต. ตอนการลงทุนในต่างประเทศโดย บล.phillip เรื่องการเปิดบัญชีลงทุนในตลาดต่างประเทศ ที่จะต้องมีรายละเอียดมากขึ้นกว่าเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นทั่วไป โดยต้องมีการทำ KYC/CDD ด้วย … มาดูว่า KYC/CDD คืออะไรจากกรุงเทพธุรกิจ ….

ผมเคยเล่าเรื่องเจมส์บอนด์ให้ฟัง พร้อมแง่คิดทางการเงิน ท่านผู้อ่านอาจเห็นว่าจินตนาการของผู้สร้างหนังที่ให้นายแบงก์เป็นผู้ร้าย นั่นเวอร์เกินจริง
ผมได้รับทราบข้อมูลอันเชื่อถือได้ว่าบรรดาผู้ก่อการร้ายนั้นต้องใช้เงินใน การก่อการร้าย (หรือใครจะเถียงว่าไม่จริง) และวิธีส่งเงินที่ดีที่สุดคือผ่านธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพราะถ้าหิ้วเงินสดไปมาอาจเป็นพิรุธ ลองนึกถึงภาพผู้ก่อการร้ายรับ-จ่ายเงินสดกันที ต้องมานั่งนับเงินกันหูตาแฉะ คงจะโดนตำรวจรวบได้ก่อนเป็นแน่ หรืออาจเป็นช่องทางให้ผู้ก่อการร้าย (กว่า) อีกกลุ่มหนึ่งตีหัวแย่งชิงเงินสดไปได้ ดังนั้นการใช้เครือข่ายสถาบันการเงินโดยเฉพาะ Offshore Banking อย่างที่เราเห็นในภาพยนตร์เจมส์บอนด์ตอนล่าสุดจึงเป็นเรื่องจริง แม้จะอิงนิยายของเอียน เฟลมมิ่ง บ้าง
บรรดาฝ่ายต่อต้านผู้ก่อการร้ายทั่วโลกที่ยังเป็นรัฐบาลอยู่ หรืออาจเรียกว่าฝ่ายก่อการดี ซึ่งไทยก็เป็นภาคีอยู่ด้วย จึงรวมตัวกันสร้างยุทธการตัดช่องทางส่งเงินให้ผู้ก่อการร้ายผ่านสถาบันการ เงิน ด้วยการให้สถาบันการเงินไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ ทั้งหลายจะต้องทำการวิเคราะห์ลูกค้าด้วยโปรแกรมที่เรียกว่า KYC (Know Your Customer) และ CDD (Customer Due Diligence)
โปรแกรม KYC ซึ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ KFC ที่ขายไก่ทอดนั้น หมายความว่าธนาคารจะต้องรู้จักลูกค้า ต่อไปแทนที่ท่านผู้อ่านจะไปกรอกชื่อที่อยู่ในใบสมัครเพื่อเปิดบัญชีธนาคาร แล้วกลับบ้านได้ ท่านอาจจะถูกถามต่อว่าได้เงินมาจากไหน คาดว่าจะมีเงินฝาก-ถอนในบัญชีเดือนละเท่าไร หากเป็นเช่นนั้นก็อย่าได้ถือสา เพราะพนักงานธนาคารเขาก็รู้สึกประดักประเดิดเหมือนกัน แต่ต้องถามเพราะเป็นนโยบายที่รัฐบาลขอร้อง (แต่ถ้าไม่ทำจะบังคับ) มา
ส่วน CDD นั้น ท่านผู้อ่านในแวดวงตลาดหุ้นจะรู้จักคำว่า Due Diligence ดี เพราะหมายถึงการตรวจสอบอย่างละเอียด เช่น บริษัท ก. จะไปซื้อ บริษัท ข. โดยฝ่ายหลังก็ยินดีขาย ผู้ซื้อเขาจะไม่ดูแต่งบดุลที่เปิดเผยอย่างเดียว แต่จะเข้าไปทำ Due Diligence คือส่งทีมไปนั่งฝังตัวในออฟฟิศบริษัท ข. เป็นอาทิตย์ เพื่อคุ้ยดูว่ามีหนี้ซ่อนไว้ที่ไหนอีกบ้าง ราคาที่ตกลงซื้อขายควรอยู่ที่กี่บาทต่อหุ้น เมื่อเอาศัพท์คำนี้มาผนวกกับ Customer จึงหมายความว่าต่อไปนี้ เวลาที่ลูกค้าทำธุรกรรมกับธนาคาร ธนาคารเขาจะต้องรู้ด้วยว่า “เงินนี้ท่านได้แต่ใดมา” มิฉะนั้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบ CDD จะทำงาน และส่งชื่อท่านไปให้เจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบ จากเดิมที่ให้ธนาคารรายงานเพียงธุรกรรมที่มียอดเงินเกิน 2 ล้านบาทเท่านั้น
ผมนั่งฟังระบบ KYC/CDD ทั้งหลายนี่แล้ว ก็รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัวอยู่ครามครันเหมือนกัน เพราะดูเหมือนว่าตัวเองก็เข้าข่ายที่จะโดนแบงก์แจ้ง เช่นบอกกับแบงก์ว่าเป็นอาจารย์เงินเดือน x บาท ตอนเขาทำ KYC แต่บางทีผมก็มี Job พิเศษ ไปเขียนหนังสือหรือรับเป็นที่ปรึกษา เขาจ่ายเงินให้ 10x บาท แม้จะไม่ถึง 2 ล้านบาท แต่มันเป็นยอดที่ผิดปกติเมื่อเทียบกับรายได้ประจำที่แจ้งไว้ อย่างนี้ CDD จะร้องเตือนธนาคาร อย่างไรก็ตามนายแบงก์ที่รู้จักกันเขาบอกผมว่าธนาคารจะใช้วิจารณญาณกลั่นกรอง อีกทีหนึ่งก่อนส่งให้หน่วยงานของรัฐ ดังนั้นแผนการของผมตอนนี้คือเวลาเอาเช็คค่าจ้างที่เกินปกติไปเข้าแบงก์ ผมต้องเอาสัญญาจ้างงานไปให้ผู้จัดการสาขาดูด้วยว่าเงินนี้ผมได้แต่ใดมา พวกเอกสารเหล่านี้อย่าคิดว่างานจบรับเงินแล้วทิ้งได้ แต่ผมจะเก็บไว้เผื่อถูกตรวจสอบภายหลังด้วย เพราะเรื่องนี้ถ้าอธิบายไม่กระจ่าง ไม่ได้เสียแค่ค่าปรับแบบสรรพากร แต่อาจติดคุกได้
ท่านผู้อ่านคงคิดเหมือนผมว่าการทำเรื่องเหล่านี้เป็นภาระแก่สถาบันการเงิน และลูกค้ามหาศาล โดยเฉพาะกับลูกค้าที่เป็นสุจริตชน เพราะบรรดาผู้ก่อการร้ายหรือทุจริตชนจะรู้ช่องทางดีและหนีไปใช้ช่องทางอื่น
ถูกต้องแล้วครับ แต่พอคิดไปลึกๆ แล้ว ก็จะพบว่า ฝ่ายผู้ก่อการดีเขาไม่ได้ต้องการใช้ช่องทางนี้เพื่อจับผู้ร้าย เขาเพียงแต่ต้องการทำให้ผู้ร้ายต้องทำธุรกรรมการเงินลำบากขึ้น นั่นคือต้อนให้ไปใช้เงินสด ซึ่งจะทำให้เขาตรวจสอบติดตาม จับกุมได้ง่ายกว่า
โครงการนี้ได้เริ่มนำร่องในธนาคารบางสาขาไปแล้วและคงขยายครอบคลุมไป บริษัทหลักทรัพย์และสถาบันการเงินอื่นๆ ในอนาคตอันใกล้ ผมจึงอยากให้ทุกท่านถือเสียว่าเป็นการร่วมด้วยช่วยกันเพื่อตัดช่องทางส่ง เงินของผู้ก่อการร้าย และได้โปรดอย่าด่าพนักงานธนาคารที่มาซอกแซกถามเรื่องเงินของท่านช่วงนี้เลยครับ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2550





Disclaimer : Internet Trader

8 07 2008

สำคัญมาก!!! ลักษณะการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เหมาะสม

 

เนื่อง จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับการส่งคำสั่ง ซื้อขายโดยลูกค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต รวมถึงการจัดทำระบบคัดกรองคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสม (Order Screening System) โดยคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายประเภทคำสั่งซื้อขายไม่เหมาะสมและจะต้องถูกคัดกรองมีดังนี้

  1. คำสั่งในลักษณะลัดคิวและปิดบังคำสั่งของผู้อื่น    

หมายถึง การส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในราคาที่สูงหรือต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น มาก เพื่อให้คำสั่งตนเองลัดคิว และปิดบังคำสั่งของผู้อื่น

  1. คำสั่งในลักษณะใส่-ถอน

หมายถึง การส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์และยกเลิกคำสั่งดังกล่าวในภายหลัง และส่งคำสั่งกลับเข้ามาใหม่ในจำนวน ราคา และเวลาใกล้เคียงกัน โดยกระทำหลายครั้ง โดยไม่มีความประสงค์จะซื้อขายหลักทรัพย์นั้นจริง เพื่อลวงให้บุคคลทั่วไปหลงผิด

  1. คำสั่งจับคู่กันเอง (Wash Sale)

หมายถึง การส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในราคาและปริมาณที่อาจจับคู่ซื้อขายระหว่าง กันเองของลูกค้ารายเดียวกัน เพื่ออำพรางให้บุคคลทั่วไปหลงผิด

  1. คำสั่งในลักษณะชี้นำราคา

หมาย ถึง การส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในราคาที่สูงหรือต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น มาก เพื่อให้คำสั่งตนเองลัดคิว และปิดบังคำสั่งของผู้อื่นในช่วงก่อนเปิดตลาด (Pre-open) และช่วงก่อนปิดตลาด (Pre-close)


หากลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายตามลักษณะคำสั่งข้อ 1, 2 และ 3 ด้วยตนเองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ระบบจะทำการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวทันที โดยจะปรากฏเป็นสัญลักษณ์ R (หมายถึง Reject) ” ที่ช่อง Stat. และหากลูกค้าส่งคำสั่งตามลักษณะคำสั่งข้อ 4 ระบบจากปรากฏเป็นข้อความ เพื่อเตือนให้ลูกค้าทราบว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นลักษณะคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสม  


นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือแจ้งเกี่ยวกับลักษณะการส่งคำสั่งซื้อ/ขายที่ไม่เหมาะสมในหุ้น
IPO ที่เข้าซื้อขายในวันแรก โดยลักษณะการซื้อ/ขายของหุ้นดังกล่าวจะไม่มี Ceiling หรือ Floor (การเสนอซื้อในราคาสูงหรือเสนอขายต่ำมาก) ระหว่างเวลา Pre-open เช้า บ่าย หรือ Call Market ก่อนปิดการซื้อขาย ดังนั้นตลาดฯ จึงได้กำหนดเพดานขั้นต่ำไว้ ดังนี้

 

ช่วงที่กำหนด

ระยะเวลา

ข้อจำกัด

ก่อน Pre-open

ก่อน 9.30 น.

บวก ลบ ไม่เกิน 50% ของราคาจอง

ช่วง Pre-open

 9.30น. –  ตลาดเปิด
 
14.00น.–  ตลาดเปิด  

บวก ลบ ไม่เกิน 50% ของราคา Project price ราคาที่กระพริบ ณ ขณะนั้น

ช่วง Call close

16.30น.ตลาดปิด  

บวก ลบ ไม่เกิน 50% ของราคา Call market close

 

ทั้งนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2548 เป็นต้นไป


เพื่อไม่ให้เกิดการส่งคำสั่งในลักษณะดังกล่าว ซึ่งถือเป็นคำสั่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ  ดังนั้นกรณีที่มีการส่งคำสั่งซื้อ/ขายหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายเป็นคำสั่งไม่เหมาะสม ท่านจะถูกยกเลิกรายการดังกล่าวหรือห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีฯ นั้นๆ





Links

8 07 2008

หุ้น





No Secret Code in Stock Markets

6 07 2008

ถอดรหัสลับตลาดหุ้น ตีแผ่จากห้องค้า

“ถ้าสามารถหาเงินได้เป็นกอบเป็นกำในตลาดหุ้น เราจะมา นั่งทำงานประจำ อยู่ทำไม ในเมื่อ นั่งค้าขายหุ้น มันทำกำไรได้มากกว่า และ เร็วกว่าตั้งเยอะ” ……… นี่เป็นความคิดแรก ของคนที่รักสบาย หวังใช้เงินทำงานให้ อย่างผม

วิชาการ ความมั่นใจ ความร้อนวิชา และ ความหวัง ค่อยๆสลายไป ในช่วงแรกๆของการลงทุน เราทุกคนต่างเอาเงินที่หาได้มา ด้วยความยากลำบาก มาถมทิ้งในตลาดหุ้น วันแล้ววันเล่า ถือเป็นบทเรียนราคาแพง แพงกว่า คอร์ส การอบรมใดๆ ในโลกนี้ที่เคยมีมา

คำถามในขณะนั้นที่เกิดขึ้น ก็คือ เราจะถอย หรือจะเริ่มต้นใหม่ ให้ถูกทิศถูกทาง? คำถามถัดไปก็คือ แล้วทำไม คนอื่นถึงประสบความสำเร็จ แล้วเขาทำอย่างไร จึงประสบความสำเร็จ อะไรคือความลับในตลาดหุ้น ที่คนส่วนใหญ่ ไม่เคยรู้ ว่ามีอยู่จริง!

ถึงแม้ แต่ละคนในห้องค้า จะไม่รู้จักกัน แต่ทำไม ข้อผิดพลาดเดิมๆ จึงเกิดขึ้นในแต่ละวัน ซ้ำๆกันได้ ทั้งที่มิได้นัดหมายกันมา แม้กระทั่งกลุ่มเราเองตอนเริ่มต้นเป็นมือใหม่ในตลาดหุ้น เทรดแบบนี้แล้วเจ๊ง ก็ยังผิดซ้ำๆกันอย่างต่อเนื่อง แล้ว ทำไม รายใหญ่ในห้อง VIP ของห้องค้า ที่เล่นหุ้นเป็นอาชีพ ถึงสามารถทำเงินก้อนโตได้ ….ทำไม กองทุนต่างชาติ ถึงเล่นยังไงก็ได้กำไรวันยังค่ำ หรือ ผู้จัดการกองทุนเหล่านั้น จะมีสูตรลับในการลงทุน หรือ เราเรียนมา คนละตำรากัน?

หลังจากขนตำราด้านการเงินการลงทุน บริจาคเข้าห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พวกเราก็เริ่มต้นใหม่หมด ด้วยการปรับความคิดใหม่ เสมือนว่าไม่มีความรู้อะไร ติดตัวมาเลย แล้วเฝ้าสังเกต สไตลล์การเทรด ของบรรดาเซียนหุ้นที่อยู่ในตลาดมานาน และ ขอเข้าพบ เข้าสัมภาษณ์ รายใหญ่ทั้งหลาย ที่อยู่ตามห้องค้าต่างๆ รวมทั้ง ขอเชิญผู้จัดการกองทุนต่างชาติ มาดินเนอร์ เผื่อแกจะเบลอๆ แล้วเผลอ คายความลับ ให้เราทราบบ้าง

ถึงแม้ตลาดหุ้นจะเอาเงินมาถมเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม แต่ในอีกมุมหนึ่ง โอกาสทำเงินในตลาดหุ้น ก็มีมากมายเหลือเกิน แล้วทำไม เส้นผมบังภูเขา เล็กๆน้อยๆเหล่านี้ ถึงเป็นความลับมานานแสนนาน ว่าแล้วก็ พิมพ์ เรื่องราว เพื่อ ถอดรหัสตลาดหุ้น เพื่อแยกกลุ่มคน ที่พร้อมจะเรียนรู้ ออกจากกลุ่มคน ที่จะเป็นผู้แพ้ตลอดกาล และ หวังเห็นรายย่อยวันนี้ เป็นแมงเม่ารุ่นสุดท้าย ของตลาดหุ้นไทย

“ถอดรหัสตลาดหุ้น” นี้ เราจะเริ่มจากคำนำ ที่ท่านอ่านอยู่นี้ จากนั้น จะกล่าวถึงเทคนิคที่หากท่านปฏิบัติตาม จะทำให้จนฉับพลัน (รับรองผล) ตามด้วยเทคนิคแห่งความรวยเรื้อรัง ตบท้ายด้วยการตีแผ่กลยุทธ์กลวิธี ของผุ้เล่นรายใหญ่ ในตลาดหุ้น และส่งท้ายด้วยบทความ “อย่าให้ใครมาขโมยความฝันของเราไป” …….. หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน ตามสมควร โดยเฉพาะมือใหม่

เชิญคลิ๊ก หัวข้อ ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านในแต่ละบท ได้เลยครับ

#1 ทำเป็นเก่ง เจ๊งสถานเดียว

#2 Limit Loss ไม่เป็น เงินเย็นหายเกลี้ยง

#3 ยิ่งถูกยิ่งซื้อ ยิ่งซื้อยิ่งลง

#4 ยิ่งไม่กล้าเสี่ยง กลับยิ่งเสี่ยง

#5 วิ่งไปตามแนวโน้ม

#6 รู้เขารู้เรา

#7 เกาะไปกับ Fund Flow

#8 ขายหมูดีกว่าขายหมา น้ำลายหกดีกว่าน้ำตาตก

#9 ย้อนรอย วัฏจักรตลาดหุ้น

#10 กลวิธี ขึ้นขายก่อน อ่อนซื้อกลับ

#11 กลวิธี สวนควันปืน เล่นฝืนมวลชน

#12 กลวิธี สงครามกองโจร

#13 กลลวง ข่าวลือ

#14 กลโกงปั่นหุ้น

#15 รวยเรื้อรัง หันหลังให้คำว่าเจ๊ง

#16 วาทะรับน้อง

บทส่งท้าย: อย่าให้ใคร มาขโมยความฝัน ของเราไป

ถอดรหัสลับตลาดหุ้น ตีแผ่จากห้องค้า

Taken from ThaiDayTrade & Bloggang – ThanaponOnline





Mark to Market

29 06 2008

กองทุนรวมตราสารหนี้ กับการ Mark to Market

วันนี้ มาคุยกันเรื่องการ Mark to Market นะครับ ที่ผ่านมาเพื่อนๆพี่ๆนักลงทุนคงได้ยินคำๆนี้อยู่บ่อยๆ บ้างคนอาจรู้คร่าวๆแล้วว่าคืออะไร ในขณะที่บางคนอาจไม่รู้เลยว่ามีผลกับหน่วยลงทุนที่ตัวเองถืออยู่ยังไง

จริงๆแล้วการ Mark to Market ไม่ใช่ทำกับเฉพาะกองทุนรวมตราสารหนี้เท่านั้นนะครับ ลองมาดูนิยามของมันก่อน

Mark to Market หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยให้สะท้อนราคาตลาดที่เป็นธรรม” (ยาวดีป่ะ) ก็คือ วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่กองทุนถืออยู่ไม่ว่าจะเป็น หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร ฯลฯ ให้เป็นมูลค่าตามตลาดหรือราคาตลาดปัจจุบัน หรือราคาล่าสุด ที่เกิดการซื้อขายจริงๆในวันนั้นๆ หรือวันก่อนก่อนหน้า (หากวันนั้นไม่มีการซื้อขาย)

จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่เฉพาะตราสารหนี้เท่านั้นที่โดน Mark to Market จริงๆแล้ว ปัจจุบันกองทุนหุ้นในตลาด ก็ต้อง Mark to market ด้วยเช่นกันครับ แต่ในกรณีที่กองทุนลงทุนในหุ้นนั้น เราใช้ราคาปิดของหุ้นรายๆตัวนั้นๆอยู่แล้ว ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่ก็เข้าใจกันหมด จริงๆแล้วตราสารหนี้ก็เหมือนกันครับไม่แตกต่างกัน

แล้วการ Market to Market เกิดประโยชน์อะไรกับผู้ถือหน่วย
– เนื่องจากกองทุนรวมส่วนใหญ่จะมีผู้ลงทุนเข้า ๆ ออก ๆ อยู่ตลอดเวลา (ซื้อขายได้ทุกวันทำการ) จึงต้องมีการแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่คนที่ออกไป หรือส่วนของเงินใหม่ที่จะเข้ามาอย่างเป็นธรรม และวิธี Mark to Market จะทำให้กองทุนสะท้อนฐานะและมูลค่าตามความเป็นจริงในแต่ละสิ้นวันได้ดีขึ้น ไม่เกิดการได้เปรียบ หรือ เสียเปรียบ สำหรับนักลงทุนเก่า และนักลงทุนใหม่
– อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่แท้จริงของกองทุนและบริษัทจัดการ ว่าพอร์ตการลงทุนนั้น มีความผันผวนด้านราคาของตราสารมากน้อยแค่ไหน อันจะทำให้นักลงทุนเข้าใจธรรมชาติของกองทุนนั้นๆได้ดีขึ้นครับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ กองทุน Fixed Income Fund ของ AYF ทุกกองนั้น ปัจจุบัน Mark to Market ทุกวัน โดย NAV ย้อนหลังนั้น มีความผันผวนสูงสะท้อนให้เห็นความเสี่ยงด้านราคาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น (ปัจจุบัน หลายกองทุนนอกจาก AYF ก็นำวิธีการ Mark to Market ทุกวัน มาใช้คำนวน NAV แล้ว)

เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น เอาตัวอย่างแบบคร่าวๆไปดูนะครับ
สมมติ เราลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้อยู่แล้ว วันนี้ กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้มูลค่าพันธบัตรและตราสารหนี้ตัวอื่นๆที่กองทุนรวมถืออยู่สูงขึ้น หากไม่มีการ Mark to Market ให้ NAV สูงขึ้นตาม ผู้ลงทุนใหม่ที่เข้าลงทุนวันนี้ ก็จะได้ซื้อหน่วยลงทุนในราคาถูกเกินความเป็นจริง ขณะที่ผู้ถือหน่วยลงทุนเดิมหากขายหน่วยลงทุนออกจากกองทุนจะได้ราคาหน่วยที่ น้อยเกินไป
และในทางกลับกัน เมื่อดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวสูงขึ้น มูลค่าตราสารหนี้ที่กองทุนรวมถืออยู่ลดลง หากไม่มีการ Mark to Market เพื่อปรับ NAV ให้ลดลง จะกลายเป็นว่านักลงทุนที่เข้ามาในวันนี้ จะต้องซื้อหน่วยลงทุนแพงเกินจริง และหากนักลงทุนเดิมต้องการไถ่ถอนหน่วยลงทุนคืนในวันนี้ ก็จะได้รับเงินคืนมากเกินไป
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่ากองทุนจะถือตราสารอายุยาวเพียงใด (Duration port) การซื้อขายได้ทุกวันทำการของกองทุนเปิดนั้น หากไม่มีการ Mark to Market ก็จะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นครับ

ราคาตลาดของหลักทรัพย์ต่างๆ ที่จะใช้ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน ได้แก่
หุ้น : ใช้ราคาปิดในตลาดหลักทรัพย์
ตราสารหนี้..ใช้อัตราผลตอบแทนจากการซื้อขายครั้งล่าสุดในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
หน่วยลงทุน..ใช้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วย (NAV) ที่คำนวณได้ ณ สิ้นวัน
เงินฝาก/ตั๋วสัญญาใช้เงิน..ใช้มูลค่าเงินต้นบวกด้วยดอกเบี้ยค้างรับ

พอจะเห็นความจำเป็น และวิธีการ Mark to Market หรือยังครับ

Read the rest of this entry »





กฏ 24 ข้อ เพื่อทำกำไรในตลาดหุ้น

28 06 2008

นักค้าหุ้นต้องมีกฏเกณฑ์ในการปฏิบัติที่แน่นอนและต้องมีวินัยอย่างเคร่งครัด กฏเกณฑ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ได้รวบรวมจากประสบการณ์ 45 ปี ในตลาดหุ้นของ นายวิลเลี่ยม ดี แก้น ซึ่งเป็นที่เชื่อว่า หากใครสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น

1. จำนวนเงินลงทุน ต้องพอดีและจงแบ่งเงินลงทุนเป็นสิบส่วน เท่าๆกัน ในการซื้อขายแต่ละครั้ง อย่าลงทุนซื้อหรือขาย เกินหนึ่งในสิบของเงินลงทุน
2. ใช้คำสั่ง STOP ORDER ควรป้องกันการลงทุนโดยการตั้ง STOP ORDER 3-5 ช่วงต่ำกว่าราคาที่ซื้อ หรือ สูงกว่าราคาที่ขาย
3. อย่าซื้อหรือขายเกินตัว เพราะจะเป็นการฝ่าฝืนกฎเกี่ยวกับจำนวนเงินลงทุนในข้อ 1
4. อย่าปล่อยให้กำไรกลายเป็นขาดทุน หลังจากที่ท่านมีกำไร 3 ช่วงหรือมากกว่านั้น จงยกระดับ STOP ORDER ให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ขาดทุน
5. อย่าเริ่มก่อนแนวโน้ม ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ:ตามแผนภูมิของท่าน
6. เมื่อสงสัย ให้ออกจากตลาดและอย่าเข้าตลาดถ้ายังสงสัย
7. ซื้อขายเฉพาะหุ้นที่มีการซื้อขายมาก อย่ายุ่งกับหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวช้าหรือแน่นิ่ง
8. จงกระจายความเสี่ยง ซื้อขายหุ้นอย่างน้อย 4 ถึง 5 บริษัท ถ้าเป็นไปได้อย่างลงทุนจนหมดตัวในหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
9. จงอย่าใช้ราคาเฉพาะ ทั้งการซื้อและการขาย จงใช้ราคาตลาด
10. อย่าขายหุ้นทิ้งโดยไม่มีเหตุผลที่ดี จงใช้ STOP ORDER เพื่อป้องกันกำไรหดหาย
11. จงสะสมกำไร หลังจากที่ท่านประสบความสำเร็จและมีกำไรติดต่อกันหลายๆ ครั้ง จงสำรองกำไรส่วนนี้ไว้ต่างหากเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินหรือตอนที่มีการตื่น ตระหนก
12. อย่าซื้อ เพียงแต่เพื่อจะเอาเงินปันผล
13. อย่าเฉลี่ยการขาดทุน เพราะนี่เป็นความผิดที่เลวร้ายที่สุดที่นักค้าหุ้นไม่ควรทำ
14. อย่าออกจากตลาด เพียงเพราะว่าท่านหมดความอดทนหรือเข้าตลาด เพียงเพราะว่าท่านไม่อยากรอ
15. จงหลีกเลี่ยง การขายเพื่อเอากำไรแต่น้อยและอย่าปล่อยให้ขาดทุนมาก
16. จงอย่ายกเลิกคำสั่ง STOP ORDER ที่ท่านสั่งตอนที่ท่านซื้อขายหุ้นนั้น
17. จงหลีกเลี่ยง การเข้าและออกจากตลาดบ่อยเกินไป
18. จงพร้อมที่จะขาย เช่นเดียวกับซื้อและยึดวัตถุประสงค์ในการทำกำไรให้แน่วแน่
19. จงอย่าซื้อ เพียงเพราะราคาต่ำและอย่าขายเพียงเพราะคิดว่าราคาสูง
20. จงระวังการพีระมิดในจังหวะที่ผิด จงรอจนกระทั่งเริ่มมีการซื้อขายมากและระดับราคาได้วิ่งขึ้นผ่านระดับต้านทาน ก่อนที่จะซื้อเพิ่ม และรอจนกระทั่งราคาได้วิ่งตกต่ำกว่าระดับจำหน่ายจ่ายแจกก่อนที่จะซื้อเพิ่ม ขึ้น
21. เมื่อซื้อ จงสะสมหุ้นในบริษัทที่มีจำนวนทุนจดทะเบียนน้อย และ ถ้ายืมหุ้นคนอื่นมาขาย จงยืมหุ้นในบริษัทที่มีจำนวนหุ้นจดทะเบียนมาก
22. อย่าป้องกันการขาดทุน ในหุ้นที่ซื้อมาโดยการยืมหุ้นจากคนอื่นมาขายไปก่อน จงขายหุ้นที่ซื้อมาไปในราคาตลาดและยอมรับการขาดทุนเพื่อคอยโอกาสครั้งต่อไป
23. อย่าเปลี่ยนสถานภาพการลงทุน (POSITION) ในตลาดโดยไม่มีเหตุผลที่ดี เมื่อท่านตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นแล้ว จงให้โอกาสตัวเองตามเหตุผลที่ดีบางประการหรือตามแผนที่กำหนดไว้ อย่าขายหรือซื้อจนกว่าจะมีสัญญาณบอกว่าแนวโน้มได้เปลี่ยนทิศทาง
24. จงหลีกเลี่ยงการเพิ่มพอร์ท หลังจากที่ประสบความสำเร็จและมีกำไรมาเป็นเวลานาน

เมื่อท่านตัดสินใจที่จะซื้อขายหุ้น ท่านต้องแน่ใจว่าท่านไม่ได้ฝ่าฝืนกฏข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น ซึ่งเป็นกฏที่จำเป็นต่อความสำเร็จของท่าน หากท่านขายหุ้นไปโดยมีการขาดทุน จงทบทวนกฏข้างต้นใหม่และพิจารณาดูว่าท่านได้ทำผิดกฏข้อใด แล้วอย่าทำผิดเป็นครั้งที่ 2 ประสบการณ์และการพิจารณาอย่างรอบคอบจะทำให้ท่านเชื่อคุณค่าของกฏเหล่านี้ การสังเกตและการศึกษาจะนำท่านสู่วิธีการที่ถูกต้องเพื่อ ความสำเร็จและกำไรในตลาดหุ้น

by วิลเลี่ยม ดี แก้น / สรุปและเรียบเรียงโดย คณิต เศรษฐนันท์





What is "NAV"?

18 06 2008

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value หรือราคา NAV) หมายถึง ทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุนรวม ตลอดจนผลประโยชน์ต่างๆ ที่กองทุนรวมได้รับจากการลงทุน ณ เวลาขณะใดขณะหนึ่งหักออกด้วยค่าใช้จ่าย และหนี้สินของกองทุนรวมนั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว จะทำการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนตามราคาตลาด (Mark to Market) ในแต่ละวัน เพื่อให้สะท้อนถึงมูลค่าที่เป็นจริงตามสภาวะตลาดที่ได้เปลี่ยนแปลงไป สำหรับกรณีที่ทรัพย์สินนั้นไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นในวันที่ทำการคำนวณ ก็ให้ใช้ราคายุติธรรม หรือราคาเสนอซื้อครั้งสุดท้ายในการคำนวณแทน

ทั้งนี้ ทาง บลจ. จะเป็นผู้ทำการคิดคำนวณราคา NAV ขึ้นมา และเปิดเผยให้นักลงทุนตลอดจนประชาชนทั่วไปได้รับทราบอย่างเป็นประจำ และสม่ำเสมอ ในกรณีของกองทุนปิด ก็จะประกาศให้นักลงทุนทราบทุกวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ สำหรับกรณีของกองทุนเปิด จะประกาศให้ทราบทุกวันทำการที่มีการซื้อขายหน่วยลงทุน โดยทำการประกาศ ณ ที่ทำการของบริษัทตัวแทนจำหน่าย และในหน้าหนังสือพิมพ์ธุรกิจอย่างน้อยหนึ่งฉบับ อย่างไรก็ตาม ราคาที่ประกาศให้ทราบนั้นจะแสดงอยู่ในรูปของมูลค่าต่อหน่วยลงทุน โดยนำเอาราคา NAV มาหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมด ซึ่งมูลค่าต่อหน่วยลงทุนนี้อาจสูงขึ้น หรือลดลงก็ได้ หากมูลค่าต่อหน่วยลงทุนลดลงน้อยกว่าราคาที่ได้ลงทุนเมื่อเริ่มแรก นักลงทุนก็จะอยู่ในฐานะขาดทุน ในทางกลับกัน หากมูลค่าต่อหน่วยลงทุนสูงขึ้นมากกว่าราคาที่ลงทุนเริ่มแรก นักลงทุนจะอยู่ในฐานะกำไร
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรจะรู้ก็คือ มูลค่าต่อหน่วยลงทุนที่ถูกประกาศให้ทราบนั้นจะเป็นมูลค่าที่คำนวณได้จาก ราคาตลาดของทรัพย์สินในวันก่อนหน้าวันที่ประกาศนั้นหนึ่งวันเสมอ ยกตัวอย่างเช่น มูลค่าหน่วยลงทุนที่ประกาศในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 25X1 จะเป็นราคาที่คำนวณได้ของวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 25X1 ดังนั้น หากนักลงทุนต้องการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้ในวันที่ 2 มีนาคม จะยังคงไม่ทราบราคาที่จะซื้อ หรือขายหน่วยลงทุนได้ในวันนั้นทันที แต่ต้องรอไปทราบเอาจากราคาที่ประกาศในวันที่ 3 มีนาคมถัดไปอีกหนึ่งวัน เป็นต้น





Bank & Money Links

16 06 2008

ธนาคารของรัฐ

 ธนาคารแห่งประเทศไทย
 
ธนาคารออมสิน
 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 
 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

 ธนาคารอาคารสงเคราะห์
 
ธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย

ธนาคารพาณิชย์

 กรุงศรีเทรดลิงก์
 ซิตี้แบงค์ ไทยแลนด์
 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
 
ธนาคารกรุงไทย ชาริอะฮ์
 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารนครหลวงไทย
 ธนาคารยูโอบี รัตนสิน
 ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด นครธน จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
 ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารออนไลน์

 กรุงศรีออนไลน์
 
กรุงเทพ อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง
 กรุงไทยอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง
 กสิกรไทย ทีเอฟบี อี-อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (TFB e-Internet Banking)
 ซิตี้แบงก์ ออนไลน์

 ทหารไทย อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง
 ทหารไทย อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง
 ทหารไทย อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง
 สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ ออนไลน์
 เอชเอสบีซี อินเทอร์เน็ต แบงค์กิ้ง
 เอสซีบีอีซี่
 เอเชีย ไซเบอร์แบงค์กิ้ง

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

 ธนาคารกรุงเทพ
 ธนาคารกรุงไทย
 ธนาคารกสิกรไทย
 ธนาคารทหารไทย
 ธนาคารนครหลวงไทย

 ธนาคารยูโอบี รัตนสิน 
 ธนาคารเอเชีย 
 ธนาคารไทยธนาคาร
 ธนาคารไทยพาณิชย์
 อัตราแลกเปลี่ยน : กรมศุลกากร 
 อัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ธนาคารยูโอบี รัตนสิน
 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

สถานีโทรทัศน์

 ยูบีซี
 สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

 สถานีข่าวช่อง 11
 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7

 สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท.
 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 (กรมประชาสัมพันธ์)
 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ITV
 เนชั่นชาแนล 8 (ยูบีซี 8)

อื่นๆ ที่น่าสนใจ

 MSN Money
 Pantip Market
 Sanook!
 Yahoo!
 MSN Thailand

 Google 
 Google Thailand 
 U-Credit
 University
 สร้างเว็บไซต์
 GM

หนังสือพิมพ์

 กรุงเทพทูเดย์ 
 กรุงเทพธุรกิจ

 กรุงเทพธุรกิจบิสวีค
 ข่าวประกวดราคา
 ข่าวสด

 คม-ชัด-ลึก
 ฐานเศรษฐกิจ
 บางกอก โพสต์ 
 บิสซิเนสเดย์ : Business Day
 บ้านเมือง
 ประชาชาติธุรกิจ
 ผู้จัดการ ออนไลน์
 พิมพ์เหลือง
 สยามกีฬา 

 สยามธุรกิจ
 สยามรัฐ
 สวัสดีกรุงเทพฯ
 หนังสือพิมพ์กระแสหุ้น
 หนังสือพิมพ์ทันหุ้น
 เดลินิวส์
 เดอะเนชั่น : The Nation
 เส้นทางเศรษฐกิจ
 แนวหน้า
 โพสต์ทูเดย์
 โลกวันนี้
 ไทยรัฐ
 ไทยโพสต์

บริษัทเงินทุนและเงินทุนหลักทรัพย์

 ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ
 บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD)
 ตลาดหลักทรัพย์ใหม่  
 บริษัทหลักทรัพทย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) 

 บริษัทหลักทรัพท์ ทรีนีตี้ จำกัด 
 บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด (มหาชน)
 บริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน)
 บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด

 บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด 
 บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
 บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
 บริษัทหลักทรัพย์ ยูบีเอส วอร์เบิร์ก จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน)
 บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด 
 บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
 บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินช์ ภัทร จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์ เอบีเอ็น แอมโร เอเซีย จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์ เอส จี สินเอเซีย จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน)
 บริษัทหลักทรัพย์ แอ๊ดคินซัน จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด (มหาชน)
 บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาติ จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อยุธยาเจเอฟ จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อเบอร์ดีน จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม กรุงไทย จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ทหารไทย จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บีโอเอ จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม พรีมาเวสท์ จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด
 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมแห่งแรกของประเทศไทย
 บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
 บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน)
 บริษัทเงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
 บริษัทเงินทุน สินเอเซีย จำกัด (มหาชน)
 บริษัทเงินทุน เกียรตินาคิน จำกัด มหาชน
 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)
 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอไอจี ไฟแนนซ์ (ปทท.)
 สมาคมบริษัทหลักทรัพย์